มาตรฐานเมล็ดกาแฟ ที่ผลิตในไทย
มาตรฐานเมล็ดกาแฟ ที่ผลิตในไทย
มาตรฐานเมล็ดกาแฟอาราบิก้า ที่ผลิตจากภาคเหนือของไทย
มาตรฐานเมล็ดกาแฟมี 2 ลักษณะ 1.เมล็ดกาแฟ หรือที่เรียกว่ากาแฟสาร หรือ เมล็ดกาแฟแห้งที่ได้จากผลกาแฟสุกที่เอาส่วนของเปลือกนอก เนื้อ และเปลือกชั้นในหรือที่เรียกว่ากะลาออกแล้ว 2.กาแฟกะลา หมายถึง เมล็ดกาแฟแห้งที่ได้จากผลกาแฟสุกที่เอาส่วนของเปลือกนอก และเนื้อออก แต่ยังคงมีเปลือกชั้นใน หรือที่เรียกว่ากะลา ติดอยู่
ลักษณะเมล็ดกาแฟและสิ่งเจือปนในเมล็ดกาแฟ
1.เมล็ดเมล็ดกาแฟมีีกลิ่นผิดปกติ เช่น เมล็ดกาแฟมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว กลิ่นหมักบูด หรือ เมล็ดกาแฟมีกลิ่นปุ๋ย สารเคมี
2.เมล็ดกาแฟมีสีดำ คือ เมล็ดกาแฟที่มีสีดำภายในและภายนอกเมล็ดกาแฟมากกว่าครึ่งของเมล็ดกาแฟ
3.เมล็ดกาแฟขึ้นรา คือ เมล็ดกาแฟที่มีลักษณะโดนเชื้อราเข้าทำลาย
4.เมล็ดกาแฟแตก ไม่สมบูรณ์ เช่น เมล็ดกาแฟเหี่ยวย่น ลีบ แตกไปมากกว่าครึ่งของเมล็ดกาแฟ
5.เมล็ดกาแฟถูกแมลงทำลาย คือ โดนแมลงกัดเจาะที่เมล็ดกาแฟ หรือมีรอยแทะ มากกว่า 1 รู
6.เมล็ดกาแฟมีสิ่งแปลกปลอม เช่น เศษหิน เศษไม้ ดิน โลหะ รวมทั้งเปลือกและเยื้อหุ้มเมล็ดกาแฟ
7.เมล็ดกาแฟมีความชื้นไม่เกิน 13%
8.เมล็ดกาแฟมีข้อบกพร่องรวม วัดจากปริมาณน้ำหนักของข้อบกพร่อง (ข้อ1-7) รวมแล้วไม่เกิน 3%
ขนาดของเมล็ดกาแฟ
– เมล็ดกาแฟเกรด เอ (A) หมายถึง เมล็ดกาแฟที่มีขนาด 5.5 มม ขึ้นไปมีสีเขียวอมเทา มีการปะปนของเมล็ดกาแฟที่ไม่สมบูรณ์อยู่ไม่เกินร้อยละ 13 ระดับความชื้นไม่เกิน 13%
– เมล็ดกาแฟเกรด เอ็กซ์ (X) หมายถึง เมล็ดกาแฟเหมือนเกรอเอ แต่สีไม่เหมือนกัน อาจจะมีสีที่ซีดกว่า
– เมล็ดกาแฟเกรด วาย (Y) หมายถึง เมล็ดกาแฟที่มีเมล็ดขนาดเล็กที่ผ่านรูตะแกรงขนาด 5.5 มม หรือแตกหัก
– เมล็ดกาแฟเกรด วาย วาย (Y Y) หมายถึง เศษเมล็ดกาแฟที่ไม่ดีต่างๆนอกเหนือจาก 3 เกรดที่กล่าวมา
มาตรฐานเมล็ดกาแฟโรบัสต้า ที่ผลิตจากภาคใต้ของไทย
ผลผลิตเมล็ดกาแฟโรบัสต้า จัดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ จึงถูกกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน FAQ [fair average quality] กรมการค้าภายใน กระทรวงพานิชย์ได้กำหนดมาตรฐานเมล็ดกาแฟโรบัสต้าของไทยไว้เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการค้าเมล็ดกาแฟโรบัสต้าให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
ลักษณะเมล็ดกาแฟและสิ่งเจือปนในเมล็ดกาแฟ รายละเอียดเหมือนกับเมล็ดกาแฟอาราบิก้า
แต่ในประเทสไทยมีการนำพันธุ์กาแฟมาปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้เหมะกับภูมิประเทศและสภาพอากาศ และยังมีการพัฒนาสายพันธ์ุกาแฟที่ให้ผลผลิตดี เพื่อให้กาแฟมีรสชาติและกลิ่นที่ดี เพื่อให้เกษตรกรได้ราคาจากการปลูกกาแฟคุณภาพดีมากขึ้น แต่การใส่ใจในเรื่องการให้ความรู้และการพัฒนาของสายพันธุ์กาแฟส่วนใหญ่มักจะมาจากตัวเกษตรกรเอง โดยได้หันมาศึกษาและได้รับควมร่วมมือจากทางหน่วยงานทีมีนักวิชาการที่มีความรู้เข้าไปทำการทดลองและวิจัยควบคู่ไปกับการปลูกกาแฟเพื่อนำสู่ตลาดด้วยคุณภาพกาแฟเริ่มจากเมล็ดพันธุ์ที่ดี ยังรวมไปถึงภูมิประเทศที่เพาะปลูก การเก็บเกี่ยวกาแฟการแปรรูปให้ได้ สารกาแฟดิบที่ดีแล้ว เมื่อได้กาแฟดิบคุณภาพขั้นต่อมาก็คือ การคั่วกาแฟที่จะทำให้ได้รสชติกาแฟ เมื่อชงหลังการคั่วแล้ว ว่ามีรสชาติด้อย เด่นอย่างไร ซึ่งจะมีการชิมเพื่อหาข้อดีข้อเสียของเครื่องดื่มกาแฟ นักชิมมืออาชีพจะบอกได้ดี และการชิมจะบอกถึงการผลิตกาแฟจากสายพันธุ์และแหล่งปลูกต่างๆได้ หากมีรสชาติ กลิ่น ที่ไม่ดีจะได้นำไปเพื่อการปรับปรุงข้อบกพร่องในแต่ละขั้นตอนของการผลิตกาแฟได้
** ที่มา โอเคเนชั่น
** ที่มา โครงการเกษตรที่สูงชาวไทยภูเขา
** ที่มา หนังสือสรรสาระกาแฟ เขียนโดย อาจารย์พัชนี สุวรรณวิศลกิจ